วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรื่องน่ารู้…คนไทยกับการบริโภคอาหาร

ในปัจจุบันประเทศไทยมีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้มากขึ้น ทั้งในเรื่องการแต่งกาย การพูดและที่สำคัญรวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ที่ประชากรส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารจำพวก FastFood หรือ อาหารประเภทจานด่วนนั่นเอง ซึ่งในอาหารจำพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่เป็นแป้ง ไขมัน เป็นต้น อาทิ เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรือแม้กระทั่งอาหารที่ขายอยู่ในเซเว่น ก็ตาม อีกทั้งยังรวมไปถึงภาระงานของคนไทยในแต่ละวันจึงทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการรับประทานอาหาร จึงทำให้รับประทานอาหารไม่ครบทั้ง 3 มื้อในแต่ละวัน  
 ดังนั้นเพราะเหตุ  ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้เกิดเป็นบทความชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้คนไทยได้รู้ถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของตนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ความถี่ของการบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มเป็นเช่นไร ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และกลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน  กลุ่มเนื้อสัตว์ กลุ่มผัก/ผลไม้สด กลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ   กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก กลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน และกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น
สุดท้ายนี้  เพื่อให้คนไทยทราบและหันมาสนใจ  ใส่ใจกับการบริโภคอาหารในแต่ละวัน  ให้เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวันของตน  ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดี  ทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในทุกๆวัน  นั่นเอง




เรื่องน่ารู้คนไทยกับการบริโภคอาหาร
สำหรับเรื่องน่ารู้ ที่ทุกคนควรรู้  คือ  คนไทยกับการบริโภคอาหาร   ในบทความนี้จะนำเสนอใน  3หัวข้อหลักๆ คือ เรื่องของการบริโภคอาหารมื้อหลัก ความถี่ในการบริโภคอาหารที่ร่างกายต้องการ  และความถี่ในการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ   ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารดังกล่าวนั้นมีผลต่อภาวะสุขภาพของประชากรในประเทศไทยอย่างมาก และข้อมูลที่จะนำเสนอนั้นก็เป็นข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจจริง โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ   โดยได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน 2552 จากประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป จำนวน 67,700 คน ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ   ดังต่อไปนี้


1. การบริโภคอาหารมื้อหลัก
จากผลการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 87.1 ของคนไทยทานอาหารมื้อหลักในแต่ละวันครบ 3 มื้อ
รองลงมา คือ ผู้ที่ทานอาหาร 2 มื้อและทานมากกว่า  3 มื้อ (ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ) ส่วนผู้ที่ทานเพียง 1 มื้อมีเพียงร้อยละ 0.2 
ประชากรวัยเด็ก (6-14 ปี) มีสัดส่วนของการบริโภคอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อสูงสุด (ร้อยละ 90.1)
รองลงมา คือ วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) วัยเยาวชน (15-24 ปี)  และต่ำสุดคือ วัยทำงาน (25 – 59 ปี) ร้อยละ 86.0





2. ความถี่ในการบริโภคอาหารที่ร่างกายต้องการ 
ความถี่ในการบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน ดังนี้ การบริโภคอาหารกลุ่มที่ร่างกายต้องการเป็นประจำ  ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์และกลุ่มผัก/ผลไม้สด ผู้ที่ทาน  3-4 วันขึ้นไป /สัปดาห์ มีสัดส่วนสูงสุด(ร้อยละ 79.7 และร้อยละ 90.4 ตามลำดับ) โดยเฉพาะกลุ่มผัก/ผลไม้สดมีผู้ที่ทานทุกวันเกินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 58.0)
                       
สำหรับกลุ่มอาหารที่ทานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและกลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน พบว่ามีเพียงร้อยละ 9.2 และ 11.7 ที่ทานโดยกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนของการทานอาหารกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและกลุ่มแร่ธาตุ วิตามินสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ (ร้อยละ 15.8  และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ)




                                                              
3. ความถี่การบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ   
            อาหารในกลุ่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ  หากบริโภคมากเกินพอดี ได้แก่ กลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ  กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก และกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน  พบว่าในกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง ส่วนใหญ่คนไทยทาน 1-2 วัน/สัปดาห์(ร้อยละ 47.3) รองลงมาคือ  ทาน 3-4 วัน/สัปดาห์ และมีประมาณร้อยละ 10  ที่ไม่ทาน
สำหรับกลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่ทาน (ร้อยละ 49.0)
และเมื่อพิจารณาความถี่ของการทานขนมกรุบกรอบตามวัย พบว่ากลุ่มเด็ก(6-14 ปี) ทานทุกวันสูงกว่าวัยอื่น คือ ร้อยละ 36.8 ส่วนวัยเยาวชนและวัยทำ งานส่วนใหญ่จะทาน 1-2 วัน/สัปดาห์  รองลงมาคือ 3-4 วัน/สัปดาห์




กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก  พบว่ามากกว่า 4 ใน 5 ที่ไม่ทาน (ร้อยละ 85.8)
ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ไม่ดื่ม ส่วนกลุ่มที่ดื่ม
พบว่ามีสัดส่วนของการดื่มทุกวันและดื่ม 1-2 วัน/สัปดาห์ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 25.3  และร้อยละ 22.9 ตามลำดับ และพบว่าผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทานทุกวันถึงร้อยละ 31.3




กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก  พบว่ามากกว่า 4 ใน 5 ที่ไม่ทาน (ร้อยละ 85.8)
ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ไม่ดื่ม ส่วนกลุ่มที่ดื่ม
พบว่ามีสัดส่วนของการดื่มทุกวันและดื่ม 1-2 วัน/สัปดาห์ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 25.3  และร้อยละ 22.9 ตามลำดับ และพบว่าผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทานทุกวันถึงร้อยละ 31.3



จากเนื้อหาข้างต้นจะกล่าวได้ว่า  การบริโภคอาหารมื้อหลัก  จากผลการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 87.1 ของคนไทยทานอาหารมื้อหลักในแต่ละวันครบ 3 มื้อรองลงมา คือ ผู้ที่ทานอาหาร 2 มื้อและทานมากกว่า  3 มื้อ (ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ) ส่วนผู้ที่ทานเพียง 1 มื้อมีเพียงร้อยละ 0.2  ความถี่ในการบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน  ดังนี้ การบริโภคอาหารกลุ่มที่ร่างกายต้องการเป็นประจำ  ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์และกลุ่มผัก/ผลไม้สด ผู้ที่ทาน  3-4 วันขึ้นไป /สัปดาห์ มีสัดส่วนสูงสุด(ร้อยละ 79.7 และร้อยละ 90.4 ตามลำดับ) โดยเฉพาะกลุ่มผัก/ผลไม้สดมีผู้ที่ทานทุกวันเกินครึ่งหนึ่ง  สำหรับกลุ่มอาหารที่ทานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแร่ธาตุ วิตามิน พบว่ามีเพียงร้อยละ 9.2 และ 11.7 ที่ทานโดยกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
อาหารในกลุ่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ  หากบริโภคมากเกินพอดี ได้แก่ กลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก และกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน  พบว่าในกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง ส่วนใหญ่คนไทยทาน 1-2 วัน/สัปดาห์(ร้อยละ 47.3) รองลงมาคือ  ทาน 3-4 วัน/สัปดาห์ และมีประมาณร้อยละ 10  ที่ไม่ทาน
ดังนั้นเพื่อภาวะสุขภาพที่ดีของประชากรไทย  เราควรหันมากินของไทย  ใช้ของไทย  เพราะว่าอาหารไทยส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีไขมัน  เป็นรสชาติที่ค่อนข้างจัด  และมีผักหรือผลไม้เป็นส่วนประกอบ ซึ่งแตกต่างจากอาหารตะวันตก  จำพวกอาหารจานด่วน  ที่จะเน้น  แป้ง  ไขมัน  เนื่องมาจากประเทศทางแถบตะวันตกนั้นมีสภาพภูมิอากาศที่หนาว  จึงจำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารจำพวกเนื้อสัตว์  แป้ง  หรือไขมันเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย  เป็นต้น


ข้อเสนอแนะ
       1.ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยหันมากินอย่างไทย คือบริโภคอาหารไทยแทนอาหารตะวันตก
       2.สาบันแรกในการปลูกฝังสิ่งต่างๆ คือ ครอบครัว ดังนั้นครอบครัวจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังในเรื่องของการบริโภคอาหารให้ถูกวิธีและถูกสุขลักษณะและหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพ
       3.ควรมีการติดป้าย หรือสื่อต่างๆให้มากกว่านี้เพราะการที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผิด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆตามมา อาทิ โรคอ้วน  เป็นต้น      


...แม้ พันธุกรรมจะเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่พฤติกรรมการกินนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้  มิฉนั้นท่านจะเป็นเหมือนกับดังรูปภาพนี้
                                                                                                  




เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ  
 (http://www.nso.go.th//)
รูปภาพจาก                             
 ( http://www.google.com/)




















                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          









นางสาวบัณฑิตา  เหล็กหมื่นไวย  ชื่อเล่น  จิง
รหัสนิสิต  52010119166  นิสิตชั้นปีที่  2 สาขาการพัฒนาชุมชน


1 ความคิดเห็น: