วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความเพิ่มเติม : ความรักและนาฬิกาทราย


ความรักและนาฬิกาทราย

ทหารหนุ่มแอบหลงรักเจ้าหญิงเลอโฉม
เขาตระหนักถึงความสูงส่งของเธอ
เฉกเช่นเดียวกับที่ตระหนักถึงความต่ำต้อยตน
แต่เขายังรวบรวมความกล้า เดินเสี่ยงตายเข้าไปบอกเธอว่า "รัก"
และจะอยู่บนโลกต่อไปโดยไม่มีเธอไม่ได้
เจ้าหญิงผู้เป็นดวงใจตอบเขาว่า
"ถ้าสามารถรอคอยอยู่ใต้ระเบียงห้องเธอได้ติดต่อกัน
100 วัน 100 คืน เธอจะเป็นของเขาตลอดไป"

ณ ใต้ระเบียง ทหารหนุ่มเฝ้ารอคอยอยู่ตรงนั้น
วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่า
โดยไม่ยอมขยับเขยื้อนกายไปไหน
เขารอคอยในสายลมบาดผิว
รอคอยในสายฝนกระหน่ำ
รอคอยในความหนาวเหน็บของหิมะ
วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่า
โดยมีเจ้าหญิงของเขาเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา
เธอเห็นหยาดน้ำตาของเขาพรูพรายเป็นสาย
จนกระทั่งในคืนที่ 99
ทหารหนุ่ม หยุดร้องไห้
หยุดรอคอย
หยุดทุกอย่างไว้
แล้วหันหลังเดินจากไป

เรื่องนี้ไม่มีตอนจบ แต่มีบางคำถาม บางคำตอบในใจ
ความรักของเธอกับเขาอาจจะเหมือน "นาฬิกาทราย "
เมื่อฝ่ายหนึ่งเริ่มหมดรักไปในใจอีกฝ่ายหนึ่งกลับรักขึ้นมาใหม่เต็มเปี่ยม
แต่บางทีทหารหนุ่มอาจตั้งใจแค่แสดงให้เห็นว่าเขารักเธอจริงแท้แค่ไหน
แค่พิสูจน์ให้เห็น แต่ไม่ต้องการ ครอบครองไว้ หรือบางทีเขาอาจเสียใจ
ต้องตัดใจจากไปเพราะรักเขาถูกทำร้ายย่ำยี
หรือบางทีเป็นเจ้าหญิงเองที่เสียใจ
เพราะไม่เคยมีใครรักเธอได้อีกถึงเพียงนี้...

ความรัก เป็นสิ่งที่ออกแบบไม่ได้
ความรัก เป็นเรื่องที่บังคับใจกันไม่ได้
ความรัก ที่บริสุทธิ์ คือ การให้...
ให้โดยที่ไม่หวังว่าจะได้อะไรตอบแทน
.........แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ผู้ที่ให้มักจะหวังอยู่ลึกๆ
ที่จะได้ความรักเป็นสิ่งตอบแทน..เสมอ
และเมื่อเค้าได้ ความรัก กลับมาแล้ว
มีเพียงน้อยคนนักที่จะสามารถให้ในลักษณะนี้ได้ตลอดไป
ความอดทนอยู่คู่กับความรักไม่ได้
แต่ความเข้าใจต่างหากที่ควรเคียงคู่กันไป
ถูกต้องที่ "เวลา" เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ทุกอย่าง โดยเฉพาะความรัก
การประคองให้รักกันได้ตลอดไป เป็นสิ่งที่ยากกว่าการจะทำอย่างใรให้รักกัน
เจ้าหญิงไม่ผิด และ ทหารผู้นี้ก็ไม่ผิด
เพียงแต่เวลาของ ความรัก ของสองคนนี้... ไม่เท่ากันเท่านั้นเอง
เราจะรู้ค่าของสิ่งของสิ่งหนึ่ง เมื่อเราได้รู้ว่า เรา... "ได้เสียมันไปแล้ว"




ขอขอบคุณข้อมูลจาก :http://atcloud.com/stories/27577

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การพัฒนาที่ยังยืน (Sustainable Development)

                การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต                เนื่องจากทุกครั้งที่มีการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ต้องมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่ออนาคต การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดในการแก้ปัญหานี้ โดยการพยายามอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมหรือมหภาค คือ หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินการให้กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่ใดที่หนึ่ง ก็จะต้องเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่อื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อให้ในแง่มหภาคของคุณภาพสิ่งแวดล้อมคงอยู่ได้ดังเดิม
การพัฒนาที่ยั่งยืน: การพัฒนายุคโลกาภิวัตน์
                        กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกลไกการตลาด ก่อให้เกิดการเติบโต การผลิต การบริโภคที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณ ดังนั้น การที่มนุษย์ยังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา อันหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาพ ความสามารถที่จะรองรับการบริโภค และการใช้ประโยชน์จากโลก และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภค และใช้ประโยชน์หมดลง อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกจะต้องจบสิ้น เพราะมนุษย์จะไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้อีกต่อไป การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบ
มาตรการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                ความล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล เนื่องจากรัฐบาลไม่รับผิดชอบ ไม่ฉับไวต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน ระบบราชการมีคอร์รัปชันสูง ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความโปร่งใส ฯลฯ
                นานาชาติจึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวคิดที่เป็นกลางที่สุดมาเยียวยา ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ผลสรุปที่ได้คือ ทั่วโลกควรปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเสียใหม่ โดยจะต้องยกเลิกการพัฒนาซึ่งรัฐเป็นผู้ชี้นำและออกคำสั่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ในลักษณะ รัฐประชาชาติ (Nation State) โดยปรับเปลี่ยนเป็น ประชารัฐ (Civil State) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างรัฐกับประชาชนในลักษณะที่เป็นประชาสังคม ประชาสังคม หรือ Civil Society คือ การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความริเริ่มของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยทุกฝ่ายในสังคมต่างให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน คำว่า ประชารัฐ จึงหมายถึง รัฐซึ่งมีรัฐบาล เอกชน และประชาชนร่วมมือกันในทุกเรื่องที่เป็นสาธารณะ นั่นเอง

                ดังนั้น การที่แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนจะสำเร็จลงได้หรือไม่อย่างไรนั้น ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และที่สำคัญ รัฐบาลในหลายๆ ประเทศจะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ จากที่เคยมองว่ารัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน รัฐบาลจึงสามารถควบคุมและครอบงำประชาชนให้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ มาเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งในระดับการร่วมรับรู้การตัดสินใจขององค์กรของรัฐ และในระดับการร่วมตัดสินใจ และจะต้องมีการตกลงกันให้ชัดเจนว่าสัดส่วนของบทบาทภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการพัฒนานั้นควรจะเป็นลักษณะใด หรือที่เรียกว่า ประชารัฐนั่นเอง
                และเพื่อให้การพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถแทรกเข้าไปในทุกส่วนของสังคมโลก เมื่อเริ่มต้นทศตวรรษที่ 1980 องค์การสหประชาชาติ จึงเสนอให้ประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความล้มเหลวในการพัฒนาตามที่กล่าวมาข้างต้น เร่งปฏิรูประบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปฏิรูปการเมือง การบริหาร การศึกษา การขจัดและลดความยากจน การส่งเสริมให้มีการบูรณาการทางการผลิต ทางการเกษตร การสร้างงาน ที่พอเพียงกับการเติบโตของประชากร การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และการลดอัตราการขยายตัวของประชากร ฯลฯ โดยนำระบบการจัดการที่ดี มาใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้การพัฒนามีภาพของอนาคตที่เป็นรูปธรรม วิธีการดังกล่าวนั้นเรียกว่า ธรรมาภิบาล ธรรมรัฐ การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี หรือ Good Governance

                โดยความหมายของ Good Governance นี้ แต่เดิมธนาคารโลก หรือ World Bank ได้ให้คำนิยามไว้ว่า หมายถึง ลักษณะและวิถีทางของการใช้อำนาจรัฐในการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อการพัฒนา  ส่วน Commission on Global Governance ได้ให้คำนิยามคำว่า “Governance” ไว้ในเอกสารชื่อ Our Global Neighbourhood ว่า หมายถึง ผลลัพธ์ของการจัดการกิจกรรม ซึ่งบุคคลและสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนมีผลประโยชน์ ได้กระทำลงในหลายทิศทาง โดยมีลักษณะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผสมผสานผลประโยชน์ที่หลากหลายและขัดแย้งกันได้ ด้วยการร่วมมือกันจัดการในเรื่องนั้น
                วิธีการจัดการดังกล่าว UNDP ได้นำเสนอไว้ 7 ประการ โดยกล่าวไว้ว่า องค์ประกอบทั้ง 7 ประการต่อไปนี้ ควรถูกกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของประเทศโลกที่ 3 ซึ่งได้แก่

                1. ประชาชนจะต้องยอมรับในความชอบธรรมของรัฐบาล (Legitimacy) และ รัฐบาลจะต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนในกิจการที่ได้กระทำลงไป (Accountability)
                2. ประชาชนจะต้องมีอิสระเสรีภาพในการรวมกลุ่ม และในการมีส่วนร่วม (Freedom of Association and Participation)
                3. จะต้องมีกรอบแห่งกฎหมายที่ชัดเจน และเป็นระบบที่ก่อให้เกิดสภาวะที่มั่นคง เป็นหลักประกันต่อชีวิตและการทำงานของพลเมือง รวมทั้งเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อผู้ประกอบการ และเกษตรกร นอกจากนี้ กฎหมายจะต้องปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเสมอหน้ากัน ทั้งนี้โดยกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ จะต้องเปิดเผยเป็นที่รู้กันล่วงหน้า ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มีวิธีการที่ประกันการบังคับใช้กฎหมาย การตัดสิน ข้อขัดแย้งต้องเป็นการตัดสินใจโดยฝ่ายตุลาการที่เป็นอิสระและเชื่อถือได้ รวมถึงจะต้องมีกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ได้ เมื่อหมดประโยชน์ ใช้สอย
                4. ระบบราชการจะต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินกิจการต่างๆ (Bureaucratic Accountability) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการงบประมาณของรัฐซึ่งจะต้องมีการควบคุม ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งของรัฐและบุคลากร เพื่อป้องกันมิให้ใช้ทรัพยากรโดยมิชอบ ทั้งนี้จะต้องมีความโปร่งใส (Transparency) ในการปฏิบัติราชการทุกระดับ
                5. จะต้องมีข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ โดยรัฐบาลจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เช่น ด้านรายได้ประชาชาติ ดุลการชำระเงิน สภาพการจ้างงาน และดัชนีค่าครองชีพเป็นต้น
                6. จะต้องมีการบริหารงานภาครับอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
                7. จะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับองค์กรของประชาสังคม ซึ่งหมายถึง องค์กรประชาชน (People's organization) และองค์กรอาสาสมัครเอกชน (NGOs)

                องค์ประกอบที่กล่าวมาข้างต้นเป็นมิติใหม่ของการจัดการพัฒนาโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวทางที่ทุกส่วนในโลกจะต้องผนึกกำลังให้เป็นกระแสหลัก โดยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโลกทัศน์ของผู้นำทุกระดับ (ทั้งภูมิภาค ชาติ ชุมชน) ไปเป็น แบบพหุนิยมองค์รวม (Holistic Pluralism) ด้วย มิใช่เอกนิยมองค์รวม
                สำหรับประเทศไทย นักคิด นักวิชาการ ได้ร่วมกันเปิดเวทีความคิด แถลง และตีความแนวคิดเรื่องธรรมรัฐ จนกระทั่งถูกนำไปกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชารัฐ ได้อาศัยหลักคิดดังกล่าวเป็นแนวทางสำคัญในการประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์สำคัญ ในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะการเน้นสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาประสิทธิภาพของรัฐ และระบบราชการ ให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และหากพิจารณาประกอบกับโครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2540 แล้ว จะพบว่า หลักธรรมรัฐได้ถูกบรรจุไว้อย่างชัดเจนในเรื่องต่างๆ เช่น การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการให้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มี เสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                นอกจากนี้รัฐบาลยังได้มอบให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีตามแนวทางธรรมรัฐ (Good Governance) จนกระทั่งสำนักงาน ก.พ. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 ลงมติเห็นชอบวาระแห่งชาติ สำหรับการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง จัดทำแผน และโครงการในการปรับปรุงงานที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ซึ่ง หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. ได้แก่
- หลักนิ
ติธรรม

- หลักคุณธรรม
- หลักความโปร่งใส
- หลักการมีส่วนร่วม
- หลักความรับผิดชอบ
- และหลักความคุ้มค่าและให้สำนักงาน ก.พ. รวบรวมและประเมินผลเพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป


เรื่องน่ารู้…คนไทยกับการบริโภคอาหาร

ในปัจจุบันประเทศไทยมีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้มากขึ้น ทั้งในเรื่องการแต่งกาย การพูดและที่สำคัญรวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ที่ประชากรส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารจำพวก FastFood หรือ อาหารประเภทจานด่วนนั่นเอง ซึ่งในอาหารจำพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่เป็นแป้ง ไขมัน เป็นต้น อาทิ เช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรือแม้กระทั่งอาหารที่ขายอยู่ในเซเว่น ก็ตาม อีกทั้งยังรวมไปถึงภาระงานของคนไทยในแต่ละวันจึงทำให้ไม่ค่อยมีเวลาในการรับประทานอาหาร จึงทำให้รับประทานอาหารไม่ครบทั้ง 3 มื้อในแต่ละวัน  
 ดังนั้นเพราะเหตุ  ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้เกิดเป็นบทความชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้คนไทยได้รู้ถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของตนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ความถี่ของการบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มเป็นเช่นไร ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และกลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน  กลุ่มเนื้อสัตว์ กลุ่มผัก/ผลไม้สด กลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ   กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก กลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน และกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น
สุดท้ายนี้  เพื่อให้คนไทยทราบและหันมาสนใจ  ใส่ใจกับการบริโภคอาหารในแต่ละวัน  ให้เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวันของตน  ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดี  ทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในทุกๆวัน  นั่นเอง




เรื่องน่ารู้คนไทยกับการบริโภคอาหาร
สำหรับเรื่องน่ารู้ ที่ทุกคนควรรู้  คือ  คนไทยกับการบริโภคอาหาร   ในบทความนี้จะนำเสนอใน  3หัวข้อหลักๆ คือ เรื่องของการบริโภคอาหารมื้อหลัก ความถี่ในการบริโภคอาหารที่ร่างกายต้องการ  และความถี่ในการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ   ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารดังกล่าวนั้นมีผลต่อภาวะสุขภาพของประชากรในประเทศไทยอย่างมาก และข้อมูลที่จะนำเสนอนั้นก็เป็นข้อมูลที่ได้ทำการสำรวจจริง โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ   โดยได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน 2552 จากประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป จำนวน 67,700 คน ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ   ดังต่อไปนี้


1. การบริโภคอาหารมื้อหลัก
จากผลการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 87.1 ของคนไทยทานอาหารมื้อหลักในแต่ละวันครบ 3 มื้อ
รองลงมา คือ ผู้ที่ทานอาหาร 2 มื้อและทานมากกว่า  3 มื้อ (ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ) ส่วนผู้ที่ทานเพียง 1 มื้อมีเพียงร้อยละ 0.2 
ประชากรวัยเด็ก (6-14 ปี) มีสัดส่วนของการบริโภคอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อสูงสุด (ร้อยละ 90.1)
รองลงมา คือ วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) วัยเยาวชน (15-24 ปี)  และต่ำสุดคือ วัยทำงาน (25 – 59 ปี) ร้อยละ 86.0





2. ความถี่ในการบริโภคอาหารที่ร่างกายต้องการ 
ความถี่ในการบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน ดังนี้ การบริโภคอาหารกลุ่มที่ร่างกายต้องการเป็นประจำ  ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์และกลุ่มผัก/ผลไม้สด ผู้ที่ทาน  3-4 วันขึ้นไป /สัปดาห์ มีสัดส่วนสูงสุด(ร้อยละ 79.7 และร้อยละ 90.4 ตามลำดับ) โดยเฉพาะกลุ่มผัก/ผลไม้สดมีผู้ที่ทานทุกวันเกินครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 58.0)
                       
สำหรับกลุ่มอาหารที่ทานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและกลุ่มแร่ธาตุ วิตามิน พบว่ามีเพียงร้อยละ 9.2 และ 11.7 ที่ทานโดยกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนของการทานอาหารกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและกลุ่มแร่ธาตุ วิตามินสูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ (ร้อยละ 15.8  และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ)




                                                              
3. ความถี่การบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ   
            อาหารในกลุ่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ  หากบริโภคมากเกินพอดี ได้แก่ กลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ  กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก และกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน  พบว่าในกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง ส่วนใหญ่คนไทยทาน 1-2 วัน/สัปดาห์(ร้อยละ 47.3) รองลงมาคือ  ทาน 3-4 วัน/สัปดาห์ และมีประมาณร้อยละ 10  ที่ไม่ทาน
สำหรับกลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่ทาน (ร้อยละ 49.0)
และเมื่อพิจารณาความถี่ของการทานขนมกรุบกรอบตามวัย พบว่ากลุ่มเด็ก(6-14 ปี) ทานทุกวันสูงกว่าวัยอื่น คือ ร้อยละ 36.8 ส่วนวัยเยาวชนและวัยทำ งานส่วนใหญ่จะทาน 1-2 วัน/สัปดาห์  รองลงมาคือ 3-4 วัน/สัปดาห์




กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก  พบว่ามากกว่า 4 ใน 5 ที่ไม่ทาน (ร้อยละ 85.8)
ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ไม่ดื่ม ส่วนกลุ่มที่ดื่ม
พบว่ามีสัดส่วนของการดื่มทุกวันและดื่ม 1-2 วัน/สัปดาห์ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 25.3  และร้อยละ 22.9 ตามลำดับ และพบว่าผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทานทุกวันถึงร้อยละ 31.3




กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก  พบว่ามากกว่า 4 ใน 5 ที่ไม่ทาน (ร้อยละ 85.8)
ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ไม่ดื่ม ส่วนกลุ่มที่ดื่ม
พบว่ามีสัดส่วนของการดื่มทุกวันและดื่ม 1-2 วัน/สัปดาห์ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 25.3  และร้อยละ 22.9 ตามลำดับ และพบว่าผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทานทุกวันถึงร้อยละ 31.3



จากเนื้อหาข้างต้นจะกล่าวได้ว่า  การบริโภคอาหารมื้อหลัก  จากผลการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 87.1 ของคนไทยทานอาหารมื้อหลักในแต่ละวันครบ 3 มื้อรองลงมา คือ ผู้ที่ทานอาหาร 2 มื้อและทานมากกว่า  3 มื้อ (ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ) ส่วนผู้ที่ทานเพียง 1 มื้อมีเพียงร้อยละ 0.2  ความถี่ในการบริโภคอาหารแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน  ดังนี้ การบริโภคอาหารกลุ่มที่ร่างกายต้องการเป็นประจำ  ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์และกลุ่มผัก/ผลไม้สด ผู้ที่ทาน  3-4 วันขึ้นไป /สัปดาห์ มีสัดส่วนสูงสุด(ร้อยละ 79.7 และร้อยละ 90.4 ตามลำดับ) โดยเฉพาะกลุ่มผัก/ผลไม้สดมีผู้ที่ทานทุกวันเกินครึ่งหนึ่ง  สำหรับกลุ่มอาหารที่ทานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแร่ธาตุ วิตามิน พบว่ามีเพียงร้อยละ 9.2 และ 11.7 ที่ทานโดยกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
อาหารในกลุ่มที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ  หากบริโภคมากเกินพอดี ได้แก่ กลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มขนมสำหรับทานเล่น/ขนมกรุบกรอบ กลุ่มอาหารประเภทจานด่วนทางตะวันตก และกลุ่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม/เครื่องดื่มที่มีรสหวาน  พบว่าในกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง ส่วนใหญ่คนไทยทาน 1-2 วัน/สัปดาห์(ร้อยละ 47.3) รองลงมาคือ  ทาน 3-4 วัน/สัปดาห์ และมีประมาณร้อยละ 10  ที่ไม่ทาน
ดังนั้นเพื่อภาวะสุขภาพที่ดีของประชากรไทย  เราควรหันมากินของไทย  ใช้ของไทย  เพราะว่าอาหารไทยส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีไขมัน  เป็นรสชาติที่ค่อนข้างจัด  และมีผักหรือผลไม้เป็นส่วนประกอบ ซึ่งแตกต่างจากอาหารตะวันตก  จำพวกอาหารจานด่วน  ที่จะเน้น  แป้ง  ไขมัน  เนื่องมาจากประเทศทางแถบตะวันตกนั้นมีสภาพภูมิอากาศที่หนาว  จึงจำเป็นที่จะต้องบริโภคอาหารจำพวกเนื้อสัตว์  แป้ง  หรือไขมันเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย  เป็นต้น


ข้อเสนอแนะ
       1.ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยหันมากินอย่างไทย คือบริโภคอาหารไทยแทนอาหารตะวันตก
       2.สาบันแรกในการปลูกฝังสิ่งต่างๆ คือ ครอบครัว ดังนั้นครอบครัวจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังในเรื่องของการบริโภคอาหารให้ถูกวิธีและถูกสุขลักษณะและหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพ
       3.ควรมีการติดป้าย หรือสื่อต่างๆให้มากกว่านี้เพราะการที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผิด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆตามมา อาทิ โรคอ้วน  เป็นต้น      


...แม้ พันธุกรรมจะเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่พฤติกรรมการกินนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้  มิฉนั้นท่านจะเป็นเหมือนกับดังรูปภาพนี้
                                                                                                  




เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ  
 (http://www.nso.go.th//)
รูปภาพจาก                             
 ( http://www.google.com/)




















                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          









นางสาวบัณฑิตา  เหล็กหมื่นไวย  ชื่อเล่น  จิง
รหัสนิสิต  52010119166  นิสิตชั้นปีที่  2 สาขาการพัฒนาชุมชน


วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจบการศึกษาและการศึกษาต่อ

                 การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา "คน" ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า  ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะการศึกษาช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต ช่วยสนับสนุน  กิจกรรมทางการเมือง ช่วยปลูกจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยให้สามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง
                 นอกจากนี้การศึกษายังช่วยลดปัญหาความยากจน ลดปัญหาด้านสุขภาพและทุพลภาพ โภชนาการด้วยการเพิ่มความรู้และ ภูมิปัญญาตลอดจนประสิทธิภาพของแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันซึ่งสภาพเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้เปลี่ยน แปลงไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตสมัยใหม่ ซึ่งจะต้องใช้แรงงานที่มีการศึกษาสูงขึ้น สามารถเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันเหตุการณ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้น การให้การศึกษาแก่ประชากรของประเทศ จึงเป็นการสร้างพลังอำนาจให้แก่ชาติบ้านเมือง  
                การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเท คโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็น มากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้
         1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
         2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ

         3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น 
      
 4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ
         5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
        6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ
           ทั้ง 6 ประการ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด
           คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย
         เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย
          การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย เราจงฝากความหวังของชาติ ด้วยการพัฒนาการศึกษา



          ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาต่อและออกไปประกอบอาชีพ จำแนกตามเพศ
ปีการศึกษา 2550

รายการ
จำนวนนักเรียน
ชาย
หญิง
รวม
จบการศึกษา
310,831
347,901
658,732
1. ศึกษาต่อ



1.1 เรียนต่อ ม. 4 โรงเรียนเดิม
155,810
202,218
358,028
1.2 เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนอื่นในจังหวัดเดิม
27,348
39,643
66,991
1.3 เรียนต่อ ม. 4 โรงเรียนอื่นในต่างจังหวัด
4,309
6,381
10,690
1.4 เรียนต่อ ม. 4 โรงเรียนอื่น ใน กทม.
2,952
3,255
6,207
1.5 สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล
55,289
43,711
99,000
1.6 สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน
16,584
18,332
34,916
1.7 สถาบันอื่นๆ
15,322
12,584
27,906
รวมศึกษาต่อ
277,614
326,124
603,738
2.1 ประกอบอาชีพ



(1) ภาคอุตสาหกรรม
2,780
1,837
4,617
(2) ภาคการเกษตร
6,127
3,248
9,375
(3) การประมง
200
60
260
(4) ค้าขาย ธุรกิจ
558
706
1,264
(5) งานบริการ
842
736
1,578
(6) รับจ้างทั่วไป
11,349
6,694
18,043
(7) อื่นๆ
5,431
3,773
9,204
รวมประกอบอาชีพ
27,287
17,054
44,341
2.2 บวชในศาสนา
352
0
352
2.3 ไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ
1,291
830
2,121
2.4 อื่น ๆ
4,440
3,740
8,180
รวมทั้งสิ้น
310,984
347,748
658,732







           ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาต่อและออกไปประกอบอาชีพ จำแนกตามเพศ ปีการศึกษา 2550

รายการ
จำนวนนักเรียน
ชาย
หญิง
รวม
รวมทั้งสิ้น



จบการศึกษา
106,965
173,467
280,432
1. ศึกษาต่อ
1.1 มหาวิทยาลัยของรัฐ

66,924

116,026

182,950
1.2 มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ
5,880
8,767
14,647
1.3 มหาวิทยาลัยของเอกชน
5,078
8,271
14,647
1.4 สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล
5,927
6,553
12,480
1.5 สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน
1,704
2,991
4,695
1.6 สถาบันพยาบาล
281
2,349
2,630
1.7 สถาบันทหาร
726
139
901
1.8 สถาบันตำรวจ
231
116
347
1.9 สถาบันอื่นๆ
5,551
9,496
15,046
รวมศึกษาต่อ
92,338
154,708
247,046
2.1 ประกอบอาชีพ
(1) ทำงานรัฐวิสาหกิจ

77

72

149
(2) ภาคอุตสาหกรรม
3,098
3,420
6,518
(3) ภาคการเกษตร
1,197
1,029
2,226
(4) การประมง
50
40
90
(5) ค้าขาย ธุรกิจ
548
852
1,400
(6) งานบริการ
506
905
1,411
(7) รับจ้างทั่วไป
3,251
3,639
6,890
(8) อื่น ๆ
2,953
3,971
6,924
รวมประกอบอาชีพ
2.2 บวชในศาสนา
11,680
25
13,928
0
25,608
25
2.3 ไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ
381
529
910
2.4 อื่น ๆ
2,614
4,204
6,818
รวมทั้งสิ้น
107,061
173,371
280,432












              จากเนื้อหาข้างต้นจะกล่าวได้ว่า  ในปี พ.ศ. 2550 มีนักเรียนที่จบการศึกษาใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นจำนวนมากกว่า จำนวนนักเรียนที่จบจากสถาบันการอาชีวศึกษา ส่วนนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนมากจะศึกษาต่อใน สายสามัญมากกว่าสายอาชีพ และมากกว่าจำนวนที่ออกไปประกอบอาชีพทางด้านต่างๆ และมากกว่าจำนวนที่ออกบวชในศาสนารวมไปถึงบุคคลที่ไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ ซึ่งที่ให้สรุปได้ว่า เยาวชนไทยมีค่านิยมในการศึกษาต่อทางด้านสายสามัญเป็นจำนวนมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี จำนวนนักเรียนที่ศึกษาต่อก็มีจำนวนที่มากกว่าจำนวนนักเรียนที่ไม่ศึกษาต่อ สำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะมีลักษณะคล้ายกับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เพราะนักเรียนที่จบในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นที่ 6 นี้ ได้มีการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นจำนวนมากกว่าการออกไปประกอบอาชีพ บวชในศาสนาและไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นนี้เราจะสรุปได้ว่า เยาวชนไทยนั้นได้รับค่านิยมที่ถูกต้องมาให้กับชีวิตและได้เลือกอนาคตที่ถูกต้องสำหรับตนเอง        
                ถึงแม้ว่าบุคคลแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในการเลือกอนาคตของตนเอง เพราะในปัจจุบันได้มีทางเลือกให้หลายทาง ทำให้ปัจจุบันนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษามีทางเลือกที่จะศึกษาต่อหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นในด้านของสายสามัญและการอาชีพ หรือการประกอบอาชีพ เป็นต้น แต่โดยสรุปแล้ว นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษานั้นเลือกที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ และรองลงมาก็คือการอาชีวศึกษา และประกอบอาชีพรองลงมาตามลำดับ

 

เสนอแนะ
1. ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีการศึกษาในระดับสูงมากขึ้น
2. ให้บุคคลภายในครอบครัวได้มีการปลูกฝังให้เยาวชนที่จบการศึกษาในระดับพื้นฐานได้มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปอีก
3. ให้ ครู อาจารย์ ได้ปลูกฝังแนะแนวทางในการศึกษาต่อของนักเรียนในอนาคต
4. อยากให้ภาครัฐ เพิ่มสวัสดิการและกองทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนที่ต้องการที่จะศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น


เอกสารอ้างอิง



                                             

           
                            นางสาวหทัยภัทร    จารภิรมย์           ชื่อเล่น  น้ำฝน


รหัสนิสิต 52010119180    สาขาการพัฒนาชุมชนปี2      กลุ่มเรียนที่ 2   ระบบปกติ