วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจบการศึกษาและการศึกษาต่อ

                 การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา "คน" ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า  ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะการศึกษาช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต ช่วยสนับสนุน  กิจกรรมทางการเมือง ช่วยปลูกจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยให้สามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง
                 นอกจากนี้การศึกษายังช่วยลดปัญหาความยากจน ลดปัญหาด้านสุขภาพและทุพลภาพ โภชนาการด้วยการเพิ่มความรู้และ ภูมิปัญญาตลอดจนประสิทธิภาพของแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันซึ่งสภาพเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้เปลี่ยน แปลงไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตสมัยใหม่ ซึ่งจะต้องใช้แรงงานที่มีการศึกษาสูงขึ้น สามารถเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันเหตุการณ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้น การให้การศึกษาแก่ประชากรของประเทศ จึงเป็นการสร้างพลังอำนาจให้แก่ชาติบ้านเมือง  
                การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเท คโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็น มากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้
         1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
         2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ

         3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น 
      
 4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ
         5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
        6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ
           ทั้ง 6 ประการ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด
           คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย
         เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะสิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย
          การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย เราจงฝากความหวังของชาติ ด้วยการพัฒนาการศึกษา



          ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาต่อและออกไปประกอบอาชีพ จำแนกตามเพศ
ปีการศึกษา 2550

รายการ
จำนวนนักเรียน
ชาย
หญิง
รวม
จบการศึกษา
310,831
347,901
658,732
1. ศึกษาต่อ



1.1 เรียนต่อ ม. 4 โรงเรียนเดิม
155,810
202,218
358,028
1.2 เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนอื่นในจังหวัดเดิม
27,348
39,643
66,991
1.3 เรียนต่อ ม. 4 โรงเรียนอื่นในต่างจังหวัด
4,309
6,381
10,690
1.4 เรียนต่อ ม. 4 โรงเรียนอื่น ใน กทม.
2,952
3,255
6,207
1.5 สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล
55,289
43,711
99,000
1.6 สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน
16,584
18,332
34,916
1.7 สถาบันอื่นๆ
15,322
12,584
27,906
รวมศึกษาต่อ
277,614
326,124
603,738
2.1 ประกอบอาชีพ



(1) ภาคอุตสาหกรรม
2,780
1,837
4,617
(2) ภาคการเกษตร
6,127
3,248
9,375
(3) การประมง
200
60
260
(4) ค้าขาย ธุรกิจ
558
706
1,264
(5) งานบริการ
842
736
1,578
(6) รับจ้างทั่วไป
11,349
6,694
18,043
(7) อื่นๆ
5,431
3,773
9,204
รวมประกอบอาชีพ
27,287
17,054
44,341
2.2 บวชในศาสนา
352
0
352
2.3 ไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ
1,291
830
2,121
2.4 อื่น ๆ
4,440
3,740
8,180
รวมทั้งสิ้น
310,984
347,748
658,732







           ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาต่อและออกไปประกอบอาชีพ จำแนกตามเพศ ปีการศึกษา 2550

รายการ
จำนวนนักเรียน
ชาย
หญิง
รวม
รวมทั้งสิ้น



จบการศึกษา
106,965
173,467
280,432
1. ศึกษาต่อ
1.1 มหาวิทยาลัยของรัฐ

66,924

116,026

182,950
1.2 มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ
5,880
8,767
14,647
1.3 มหาวิทยาลัยของเอกชน
5,078
8,271
14,647
1.4 สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล
5,927
6,553
12,480
1.5 สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน
1,704
2,991
4,695
1.6 สถาบันพยาบาล
281
2,349
2,630
1.7 สถาบันทหาร
726
139
901
1.8 สถาบันตำรวจ
231
116
347
1.9 สถาบันอื่นๆ
5,551
9,496
15,046
รวมศึกษาต่อ
92,338
154,708
247,046
2.1 ประกอบอาชีพ
(1) ทำงานรัฐวิสาหกิจ

77

72

149
(2) ภาคอุตสาหกรรม
3,098
3,420
6,518
(3) ภาคการเกษตร
1,197
1,029
2,226
(4) การประมง
50
40
90
(5) ค้าขาย ธุรกิจ
548
852
1,400
(6) งานบริการ
506
905
1,411
(7) รับจ้างทั่วไป
3,251
3,639
6,890
(8) อื่น ๆ
2,953
3,971
6,924
รวมประกอบอาชีพ
2.2 บวชในศาสนา
11,680
25
13,928
0
25,608
25
2.3 ไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ
381
529
910
2.4 อื่น ๆ
2,614
4,204
6,818
รวมทั้งสิ้น
107,061
173,371
280,432












              จากเนื้อหาข้างต้นจะกล่าวได้ว่า  ในปี พ.ศ. 2550 มีนักเรียนที่จบการศึกษาใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นจำนวนมากกว่า จำนวนนักเรียนที่จบจากสถาบันการอาชีวศึกษา ส่วนนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนมากจะศึกษาต่อใน สายสามัญมากกว่าสายอาชีพ และมากกว่าจำนวนที่ออกไปประกอบอาชีพทางด้านต่างๆ และมากกว่าจำนวนที่ออกบวชในศาสนารวมไปถึงบุคคลที่ไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ ซึ่งที่ให้สรุปได้ว่า เยาวชนไทยมีค่านิยมในการศึกษาต่อทางด้านสายสามัญเป็นจำนวนมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี จำนวนนักเรียนที่ศึกษาต่อก็มีจำนวนที่มากกว่าจำนวนนักเรียนที่ไม่ศึกษาต่อ สำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะมีลักษณะคล้ายกับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 เพราะนักเรียนที่จบในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นที่ 6 นี้ ได้มีการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นจำนวนมากกว่าการออกไปประกอบอาชีพ บวชในศาสนาและไม่ประกอบอาชีพและไม่ศึกษาต่อ ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นนี้เราจะสรุปได้ว่า เยาวชนไทยนั้นได้รับค่านิยมที่ถูกต้องมาให้กับชีวิตและได้เลือกอนาคตที่ถูกต้องสำหรับตนเอง        
                ถึงแม้ว่าบุคคลแต่ละคนล้วนแล้วแต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในการเลือกอนาคตของตนเอง เพราะในปัจจุบันได้มีทางเลือกให้หลายทาง ทำให้ปัจจุบันนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษามีทางเลือกที่จะศึกษาต่อหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นในด้านของสายสามัญและการอาชีพ หรือการประกอบอาชีพ เป็นต้น แต่โดยสรุปแล้ว นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษานั้นเลือกที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ และรองลงมาก็คือการอาชีวศึกษา และประกอบอาชีพรองลงมาตามลำดับ

 

เสนอแนะ
1. ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีการศึกษาในระดับสูงมากขึ้น
2. ให้บุคคลภายในครอบครัวได้มีการปลูกฝังให้เยาวชนที่จบการศึกษาในระดับพื้นฐานได้มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปอีก
3. ให้ ครู อาจารย์ ได้ปลูกฝังแนะแนวทางในการศึกษาต่อของนักเรียนในอนาคต
4. อยากให้ภาครัฐ เพิ่มสวัสดิการและกองทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนที่ต้องการที่จะศึกษาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น


เอกสารอ้างอิง



                                             

           
                            นางสาวหทัยภัทร    จารภิรมย์           ชื่อเล่น  น้ำฝน


รหัสนิสิต 52010119180    สาขาการพัฒนาชุมชนปี2      กลุ่มเรียนที่ 2   ระบบปกติ

1 ความคิดเห็น: